วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

สุภาษิตไทย

หมวด ก


กงกำกงเกวียน
เวรสนองเวร กรรมสนองกรรม


กระต่ายหมายจันทร์
หวังในสิ่งที่เกินตัว


กลมเป็นลูกมะนาว
หลบหลีกไปได้คล่องแคล่วจนจับไม่ติด
( มักใช้ในทางไม่ดี )


กำขี้ดีกว่ากำตด
ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย


กำแพงมีหู ประตูมีตา
การที่จะพูดหรือทำอะไรให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้


กิ่งทองใบหยก
เหมาะสมกัน ใช้แก่หญิงกับชายที่จะแต่งงานกัน


กิ้งก่าได้ทอง
ชอบโอ้อวดในสิ่งที่ตนมีเพื่อให้ผู้อื่นรู้ เพื่อให้ผู้อื่นสนใจตน


กินบนเรือนขี้บนหลังคา
เนรคุณ เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น


แกว่งตีนหาเสี้ยน
รนหาเรื่องเดือดร้อน


ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับซึ่งกันและกัน


หมวด ข


ขมิ้นกับปูน
ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน , ไม่ถูกกัน

ข้าวใหม่ปลามัน
อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือดี , นิยมเรียกช่วงที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า "ข้าวใหม่ปลามัน"



เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา
บอกหรือสอนแล้วไม่ได้ผล


เข็นครกขึ้นภูเขา
ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตนเอง

หมวด ค


คมในฝัก
ลักษณะของผู้ฉลาด แต่นิ่งเงียบ ไม่แสดงความฉลาดนั้นออกมาโดย
ไม่จำเป็น มีความรู้ความสามารถ แต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออก
มาให้ปรากฎ


ความวัวไม่ทันหายความควายเข้ามาแทรก
ความวุ่นวายเดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมีไม่รู้จบสิ้นหรือผ่านพ้นไป ความวุ่นวาย เดือดร้อนอีกอย่างหนึ่งเกิดขึ้นมาอีก


คางคกขึ้นวอ
คนมีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดีก็มักแสดงกิริยา อวดดีจนลืมตัว


หมวด ง

งมเข็มในมหาสมุทร
ค้นสิ่งที่ยากจะค้นหาได้ ทำกิจที่สำเร็จได้ยากยิ่ง


งามแต่รูปจูบไม่หอม
มีรูปร่างงาม แต่มีความประพฤติและกิริยามารยาทไม่ดี


หมวด จ


จับปลาสองมือ
โลภมาก มักลาภหาย อยากได้หลายอย่างแต่ในที่สุดไม่ได้สักอย่างเดียว


จับเสือมือเปล่า

แสวงหาผลประโยชน์โดยตัวเองไม่ต้องลงทุน


หมวด ช


ชักใบให้เรือเสีย
พูดหรือทำขวางๆ ให้การสนทนาหรือการทำงานขวออกนอกเรื่องไป


ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด
ความชั่ว หรือความผิดร้ายแรงที่คนทั่วไปรู้จักกันทั่วแล้ว จะปิดยังไงก็ปิดไม่มิด


ชิงสุกก่อนห่าม
ด่วนทำสิ่งที่ยังไม่สมควรแก่วัยหรือไม่ถึงเวลา

หมวด ซ


ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ
ซื้อของไม่คำนึงถึงกาเวลา ของที่ถูกก็ต้อง ซื้อแพง, ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา


หมวด ด


ดาบสองคม
มีทั้งคุณและโทษ , อาจดีอาจเสียก็ได้


ได้ทีขี่แพะไล่
ซ้ำเติมเมื่อผู้อื่นเพลี่ยงพล้ำลง


หมวด ต

ตักน้ำรดหัวตอ
แนะนำพร่ำสอนเท่าไหรก็ไม่ได้ผล


ตัดหางปล่อยวัด
ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป


ตำข้าวสารกรอกหม้อ
หาเพียงแต่พอกินไปมื้อหนึ่ง ๆ , ทำให้พอเสร็จไปชั่วครั้งหนึ่งๆ


ตีวัวกระทบคราด
โกรธคนหนึ่งแต่ทำอะไรเขาไม่ได้ไพล่ไปรังควาน


หมวด ถ


เถียงคำไม่ตกฟาก
พูดคำเถียงคำไม่หยุดปาก , เถียงโดยไม่ฟังเหตุผล

หมวด ท


ทำนาบนหลังคน
ทำกินโดยเอารัดเอาเปรียบผู้ที่ออกแรงทำงานนั้นๆ


หมวด น


น้ำขึ้นให้รีบตัก
มีโอกาสก็ควรรีบทำ


น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน


หมวด ป


ปลาใหญ่กินปลาเล็ก
ประเทศหรือคนที่มีอำนาจ หรือ ผู้ใหญ่ ที่กดขี่ข่มเหงผู้อ่อนแอหรือผู้น้อย


ปากปราศรัยใจเชือดคอ

พูดดีแต่ใจคิดร้าย


ปิดทองหลังพระ
ทำความดีแต่ไม่ได้รับการยกย่อง เพราะ ไม่มีใครเห็นคุณค่า

หมวด ผ


ผักชีโรยหน้า
การทำความดีเพียงผิวเผิน


ผ้าขี้ริ้วห่อทอง
คนมั่งมีแต่งตัวซอมซ่อ

หมวด ฝ


ฝนตกขี้หมูไหล
พลอยเหลวไหลไปด้วยกัน มักใช้เข้าคู่กับ คนจัญไรมาพบกัน

ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
เพียรพยายาม สุดความสามารถจนกว่าจะสำเร็จผล


หมวด พ


พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า


แพะรับบาป
คนที่รับเคราะห์กรรมแทนผู้อื่นที่ทำกรรมนั้น


หมวด ฟ


ฟังหูซ้ายทะลุหูขวา
ฟังแล้วไม่รู้เรื่อง ฟังแล้วจำไม่ได้


หมวด ม



มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
ไม่ช่วยแล้วยังขัดขวางการทำงานของผู้อื่น


ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
อบรมสั่งสอนให้เด็กประพฤติดีได้ง่ายกว่า อบรมสั่งสอนผู้ใหญ่


หมวด ย


ยุให้รำตำให้รั่ว
ยุให้แตกกัน ยุให้ผิดใจกัน


หมวด ร


รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ทำไม่ดีหรือทำผิดแล้วไม่รับผิด กลับโทษผู้อื่น


รู้หลบเป็นปีกรู้หลีกเป็นหาง
รู้จักเอาตัวรอดหรือปรับตัวให้เข้ากับ เหตุการณ์ได้รวดเร็ว


เรือร่มในหนองทองจะไปไหน

คนในเครือญาติแต่งงานกัน ทำให้ทรัพย์สมบัติ ไม่ตกไปอยู่กับผู้อื่น

หมวด ล


ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
ดีแต่พูด ทำจริง ๆ ไม่ได้


ลิ้นกระทบฟัน
ญาติพี่น้อง หรือผัวเมียทะเลาะกัน

หมวด ว



วัวลืมตีน
คนที่ได้ดีแล้วลืมตัว


วัวหายล้อมคอก
ของหายแล้วจึงคิดป้องกัน เกิดเรื่องแล้วจึงแก้ไข

หมวด ส



สอนหนังสือสังฆราช
สอนผู้มีความรู้ความสามารถอยู่แล้ว


สีซอให้ควายฟัง
สอนคนโง่ไม่รู้เรื่อง แนะนำคนโง่ไม่มีประโยชน์


เส้นผมบังภูเขา
เรื่องเล็กบังเรื่องใหญ่ , เรื่องง่ายคิดไม่ออกเห็นว่าเป็นเรื่องยาก


เสน่ห์ปลายจวัก
เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส


หมวด ห


หนีเสือปะจระเข้
หนีภัยอันตรายอย่างหนึ่ง แล้วต้องพบกับอันตราย อีกอย่างหนึ่ง มักใช้เข้าคู่กับคำว่าต้นไม้ปะรังแตน





สมาชิกในกลุ่ม


1. ด.ช.กิตติศักดิ์ เย็นสบาย
2.ด.ช.ชัชพงศ์ แสงศรี
3.ด.ช.พลวัต วัจนามัย
4.ด.ช.ภาณุพงศ์ มานะเจริญดี









คำถามสุภาษิตไทย

1.  กินบนเรือนขี้บนหลังคา สอนถึงเรื่องอะไร
ก. เนรคุณ เป็นผู้ไม่รู้คุณของผู้อื่น
ข. เสน่ห์ที่เกิดจากฝีมือปรุงอาหารให้โอชารส
ค. ของหายแล้วจึงคิดป้องกัน เกิดเรื่องแล้วจึงแก้ไข

2. ทำงานที่ยากเกินความสามารถของตนเอง ตรงกับสำนวนใด
ก. เส้นผมบังภูเขา
ข. รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง
ค. เข็นครกขึ้นภูเขา

3. หน่อยทำของหายแล้วจึงคิดป้องกัน  ตรงกับสำนวนใด
ก.สีซอให้ควายฟัง
ข.วัวหายล้อมคอก
ค.หนีเสือปะจระเข้


4.แดงขโมยของแล้วไปโทษดำว่าดำทำ สิ่งที่ดำโดนตรงกับสำนวนใด

ก.แพะรับบาป
ข.หนีเสือปะจระเข้

ค.สอนหนังสือสังฆราช


5.หมวด ก ข้างบนมีกี่สำนวน
ก. 9
ข. 10
ค. 11


6.หมวด ข สำนวนใดขึ้นเป็นสำนวนแรก
ก.ขมิ้นกับปูน
ข.ข้าวใหม่ปลามัน
ค.เข้าหูซ้ายทะลุหูขวา

7.ความเพียรพยายามทำให้เราดีตรงกับข้อใด
ก.ฝนทั่งให้เป็นเข็ม
ข.เสน่ห์ปลายจวัก
ค.สอนหนังสือสังฆราช


8.คนที่โลภมาก ควรใช้สำนวนใดเปรียบเทียบ
ก.นำลดตอผุด
ข.จับปลาสองมือ
ค.เขียนเสือให้วัวกลัว


9. หมวด ง ข้างบนมีกี่สำนวน

ก.2 สำนวน
ข.5 สำนวน
ค.7 สำนวน


10.น้ำขึ้นให้รีบตักมีความหมายว่าอะไร

ก.เรื่องเล็กบังเรื่องใหญ่
ข.มีโอกาสก็ควรรีบทำ
ค.ตัดขาดไม่เกี่ยวข้อง ไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป

11. สำนวนใด มีความหมายแสดงความเสียเปรียบ
ก. กินน้ำใต้ศอก
ข. ตาบอดได้แว่น
ค. อาภัพเหมือนปูน
ง. ใกล้เกลือกินด่าง


12. "แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ" หมายความว่าอย่างไร
ก. ของไม่มีราคาแต่มีค่า
ข. ของดีแต่ไม่มีราคา
ค. ทิ้งไปแล้วกลับเสียดายภายหลัง
ง. นึกถึงคุณค่าของสิ่งที่คิดว่าไม่มีประโยชน์


13. ข้อใดมีสำนวนไม่สัมพันธ์กัน
ก. ขมิ้นกับปูน นุ่นกับไฟ
ข. เสือซ่อนเล็บ คมในฝัก
ค. กันดีกว่าแก้ ตัดไฟต้นลม
ง. เส้นผมบังภูเขา หญ้าปากคอก


14. การแสดงความวิตกกังวลเกินกว่าเหตุ กล่าวเป็นสำนวนไทยว่าอย่างไร
ก. ตีงูให้กากิน
ข. ตีตนไปก่อนไข้
ค. ใจดีสู้เสือ
ง. อกสั่งขวัญแขวน


15."วันพรุ่งนี้สอบ คืนนี้ค่อยดูหนังสือ" ตรงกับสำนวนใด
ก. หวังน้ำบ่อหน้า
ข. ใจดีสู้เสือ
ค. ตำข้าวสารกรอกหม้อ
ง. ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงาม


16. การทำอะไรที่ต้องเสียทรัพย์มากมายแล้วได้ผลไม่คุ้มค่ากับเงินทองที่ต้องเสียไป ตรงกับสำนวนใด
ก. ตีงูให้กากิน
ข. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ค. ถี่ลอดตาช้าง ห่างลอดตาเล็น
ง. เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียนาน


17. ต่างคนต่างแรงไม่ยอมกัน ตรงกับสำนวนใด
ก. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ข. ขนมพอสมน้ำยา
ค. ขิงก็ราข่าก็แรง
ง. เกลือจิ้มเกลือ


18. ให้ระมัดระวังคำพูดและการกระทำให้ดี อาจมีคนได้ยินหรือเห็นได้ ตรงกับสำนวนใด
ก. ตาเป็นนกแขวก
ข. ตาเป็นสับปะรด
ค. ตาเฟื้องตาสลึง
ง. กำแพงมีหู ประตูมีช่อง


19. "พูดให้เขวไปนอกเรื่อง" ตรงกับสำนวนข้อใด
ก. ชักใบให้เรือเสีย
ข. ชักน้ำเข้าลึก
ค. ชักศึกเข้าบ้าน
ง. ชักแม่น้ำทั้งห้า


20. "เกลียดสิ่งใดได้สิ่งนั้น" ตรงกับข้อใด
ก. เกลียดเข้ากระดูกดำ
ข. เกลียดความความถึง
ค. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
ง. เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง


21. ข้อใดใช้สำนวนได้ถูกต้อง
ก. ธิดากับนพพร เป็นหัวแก้วหัวแหวนของพ่อแม่
ข. แดงพลอยติดร่างแห ได้รับเหรียญกล้าหาญ
ค. หลายคนตราหน้า ว่าเขาจะได้เป็นรัฐมนตรีอีก
ง. ผู้หญิงคนนั้นสวมเสื้อบางเสียจนดูตัวเปล่าเล่าเปลือย


22. "หัวเรือใหญ่" หมายความว่าอย่างไร
ก. นักเลง
ข. มีตำแหน่งและมีอำนาจ
ค. ทำตัวเป็นหัวหน้าเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยทุกเรื่อง
ง. ทำตัวว่ามีรสนิยมสูง ชอบแต่ของดีมีราคา


23. "ฟังหูไว้หู" หมายความว่าอย่างไร
ก. อย่าด่วนสรุปทันทีที่ได้ฟัง
ข. อย่าฟังความข้างเดียว
ค. อย่าเสียโอกาสในการฟัง
ง. อย่าฟังโดยไม่จดลง


24. "ปากหนัก" หมายความว่าอย่างไร
ก. พูดรุนแรง
ข. พูดช้า ๆ
ค. ไม่ค่อยพูด
ง. พูดได้ตรง


25. สำนวนใดมีความหมายใกล้เคียงกันมากที่สุด
ก. หน้าเนื้อใจเสือ ปากว่าตาขยิบ
ข. ขิงก็ราข่าก็แรง ขนมพอสมน้ำยา
ค เกี่ยวแฝกมุงป่า ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
ง. เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง เอาเนื้อหมูไปปะเนื้อช้าง


26. "คนที่รู้อะไรด้านเดียว แล้วก็เข้าใจว่าว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น"
ก. ตาบอดได้แว่น
ข. ตาบอดคลำช้าง
ค. ตาบอดสอดตาเห็น
ง. ตาบอดตาใส


27. ข้อใดมีความหมายว่า "ไม่ยอมถอย"
ก. ถึงพริกถึงขิง
ข. ถึงไหนถึงกัน
ค. ถึงเนื้อถึงตัว
ง. ลงไม้ลงมือ


28. "สิบเบี้ยใกล้มือ" หมายความว่าอย่างไร
ก. ของที่อยู่ใกล้มักจะไม่สนใจ
ข. ของที่มีค่าเพียงเล็กน้อย เมื่อมีโอกาสจะได้ควรเอาไว้ก่อน
ค. ของที่อยู่ไกลย่อมมีค่ามากกว่าของเล็กน้อยที่อยู่ไกล
ง. ของเล็กน้อยเมื่อมีโอกาสจะได้แน่นอนควรทิ้งไว้ก่อน ควรสนใจสิ่งที่ยังไม่แน่นอน


29. "คนเราจิตใจต่างกัน" พูดเป็นสำนวนว่าอย่างไร
ก. ขนมพอสมน้ำยา
ข. ลางเนื้อชอบลางยา
ค. คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน
ง. คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก


30. "พกหินดีกว่าพกนุ่น" หมายความว่าอย่างไร
ก. หินหนักกว่านุ่น
ข. ไปไหนควรเอาหินไปด้วย
ค. ทำงานหนักได้ประโยชน์กว่างานเบา
ง. ให้ใจคอหนักแน่นอย่าหูเบาใจเบา


31. "ตีปลาหน้าไซ" หมายความว่าอย่างไร
ก. จับปลาได้มาก
ข. ทำร้ายเด็กต่อหน้าผู้ใหญ่
ค. ทำให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ที่เขาควรจะได้
ง. ฉวยโอกาสกอบโกย


32. ผู้ที่มีสิ่งที่ตนไม่รู้คุณค่า อุปมาว่าอย่างไร
ก. กิ้งก่าได้ทอง
ข. วานรได้แก้ว
ค. หัวล้านได้หวี
ง. ตาบอดได้แว่น


เฉลย

1. ก.   2. ค.   3. ข.   4. ก.   5. ข.   6. ก.   7. ก.   
8. ข.   9. ก.  10. ข.11.ก.   12.ง.  13.ก.  14.ข.  
15.ค.  16.ข.  17.ค.  18.ง.  19.ก.  20.ข.21.ก.  
22.ค.  23.ก.  24.ค. 25.ข.  26.ข.  27.ข. 28.ข.
29.ข.  30.ง. 31.ค.   32.ข.



ขอให้โชคดีในการทำข้อสอบนะครับ




































รูปภาพสำนวนไทย

เพลงครับ